แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
3 รหัสวิชา ว22101 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สาระที่
1 หน่วยที่ 1 เรื่อง ระบบการย่อยอาหาร เวลา 2.00 ชั่วโมง
……………………………………………………………………………………………………….
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ
ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กันมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ตัวชี้วัด
1. อธิบายโครงสร้างและการทำงานของระบบ
ย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ ของมนุษย์และสัตว์
รวมทั้งระบบประสาทของมนุษย์ (ว 1.1-1)
2.
อธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆ ของ
มนุษย์และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์(ว 1.1-2)
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของคำว่า
การย่อยอาหารได้
2. สรุปความสำคัญของการย่อยอาหารได้
3. ทดลองและสรุปเกี่ยวกับการเปลี่ยนขนาดอนุภาคของแป้ง
และน้ำตาลได้
เนื้อหา
(รายละเอียดของเนื้อหาอยู่ในใบความรู้ที่ 2)
1. ระบบย่อยอาหารและการย่อยอาหาร
2. กิจกรรมที่ 2 ขนาดอนุภาคของแป้งและน้ำตาล
การจัดกระบวนการเรียนรู้
1. ขั้นนำ
1.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2.ให้นักเรียนสังเกต
อวัยวะต่างๆ ของร่างกายคน จากภาพแสดงอวัยวะร่างกายคนกับการทำงานของสิ่งต่างๆ
2.
ขั้นสอน
1.ให้นักเรียนวิเคราะห์และเปรียบเทียบการทำงานของอวัยวะบางส่วนของร่างกายว่าเหมือนกับการทำงานของเครื่องมือหรือเครื่องจักรกลชนิดใดบ้าง
โดยให้เหตุผลประกอบ
2. ให้นักเรียนช่วยกันอภิปรายว่าเมื่อรับประทานอาหารเข้าไป
ร่างกายจะนำสารอาหารต่างๆ ซึ่งมีขนาดอนุภาคเล็กหรือใหญ่แตกต่างๆ กันไปนั้นถูกนำไปใช้ในเซลล์ได้อย่างไร
ขนาดของอนุภาคมีผลต่อการดูดซึมไปยังเซลล์แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
3. นักเรียนแบ่งกลุ่ม
แต่ละกลุ่มศึกษาตามใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง
ขนาดของแป้งและน้ำตาล
4. นักเรียนนำเสนอผลการทดลองหน้าชั้นเรียน
และช่วยกันอภิปรายผลจากการทดลอง และแนวคำถามในบทเรียน
5. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการทดลอง
ได้ข้อสรุปว่า
น้ำตาลกลูโคสมีขนาดอนุภาคเล็กกว่าแป้งและเล็กกว่ารูกระดาษเซลโลเฟนจึงสามารถลอดผ่านรูของกระดาษเซลโลเฟน
6. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมกับนักเรียนว่า
เมื่อเปรียบเทียบรูของกระดาษเซลโลเฟนกับรูของเยื่อ หุ้มเซลล์ว่ามีสมบัติคล้ายกัน
คือ รูเยื่อหุ้มเซลล์ มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน คือยอมให้สารบางอย่างผ่านได้
เช่น สารที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่ารูของเยื่อหุ้มเซลล์จะผ่านเข้าสู่เซลล์ได้
7. นักเรียนทำกิจกรรมตามใบงานที่
2
8. นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยคำถามตามใบงานที่
2
9. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถามเนื้อหา
เรื่อง ระบบการย่อยอาหาร
ว่ามีส่วนไหนที่ไม่เข้าใจและให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนนั้น
3.
ขั้นสรุป
1.
นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
2. นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยแบบทดสอบหลังเรียน
ครูเสริมแรงโดยชมเชยนักเรียนที่สอบผ่าน
สำหรับนักเรียนที่สอบไม่ผ่านครูให้กำลังใจและให้นักเรียนที่สอบผ่านสอนเสริมให้นอกเวลาเรียนและให้นักเรียนนำส่งรายงานผลการทำกิจกรรมในชั่วโมงต่อไป
3. ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาความรู้ เรื่อง กลไกการย่อยอาหารในปาก ซึ่งจะเรียนในคาบต่อไปมาล่วงหน้า
สื่อการเรียนการสอน/สื่อการเรียนรู้
1.แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
2. ใบกิจกรรมที่ 2
ขนาดอนุภาคของแป้งและน้ำตาล
3. ใบความรู้ที่ 2
ระบบย่อยอาหารและการย่อยอาหาร
4. ใบงานที่ 2 ระบบย่อยอาหารและการย่อยอาหาร
การวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผลด้าน
|
วิธีการวัด
|
เครื่องมือวัด
|
เกณฑ์การผ่าน
|
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
|
1.วัดจากแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
|
1.
แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
|
1. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือเท่ากับ
60% ข้อขึ้น
|
|
2.วัดจากการตอบคำถามตามใบงานที่
2
|
2.ใบงานที่ 2
|
2. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือ
เท่ากับ 60%ขึ้นไป
|
2. ด้านทักษะกระบวนการ
|
ประเมินจากทักษะการปฏิบัติการ
|
แบบประเมินด้านทักษะ(การทดลอง)
|
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป
|
3. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
|
การสังเกตพฤติกรรมความสนใจ และตั้งใจเรียน
|
แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจและตั้งใจเรียน
|
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป
|
กิจกรรมเสนอแนะ
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
ใบกิจกรรมที่ 2
เรื่อง ขนาดอนุภาคของแป้งและน้ำตาล
หลักการ
อนุภาคของสารอาหารที่มีขนาดเล็กกว่ารูของเยื่อหุ้มเซลล์จะผ่านเข้าสู่เซลล์ได้
จุดประสงค์การทดลอง
1.สามารถทดสอบแป้งและน้ำตาลด้วยสารละลายไอโอดีนและสารละลายเบเนดิกต์ตามลำดับได้
2.สามารถสรุปเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของอนุภาคแป้งและน้ำตาลได้
วัสดุอุปกรณ์
1.น้ำ 100 ซม.3
2.น้ำแป้งสุก 10 ซม.3
3.สารละลายน้ำตาลกลูโคส
5 % 10
ซม.3
4.สารละลายไอโอดีน 1 ซม.3
5.สารละลายเบเนดิกต์ 1 ซม.3
6.กระดาษเซลโลเฟนขนาด
15 ซม. X 15 ซม. 1 แผ่น
7.กระป๋องนม 1 ใบ
8.ยางรัด 1 เส้น
9.กล่องพลาสติกเบอร์
1 1 ใบ
10.กล่องพลาสติกเบอร์
3 1 ใบ
11.หลอดทดลองขนาดกลาง 2 หลอด
12.ไม้ขีดไฟ 1 กลัก
13.ตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ดวง
14.ที่กั้นลมและตะแกรงลวด 1 ชุด
15.ที่จับหลอดทดลอง 1 อัน
16.หลอดหยด 1 หลอด
17.หลอดฉีดยาขนาด
12 ซม.3 1 หลอด
หมายเหตุ
1. กระดาษเซโลเฟนที่ใช้จะต้องเป็นกระดาษแก้วชนิดใสและเนื้อดีไม่ใช้กระดาษแก้วธรรมดา เพราะกระดาษชนิดนี้มักจะทะลุเมื่อใส่น้ำหรือสารละลายลงไป
นอกจากนี้กระดาษแก้วใสบางชนิดที่มีพลาสติกผสมอยู่ก็นำมาใช้ในการทดลองนี้ไม่ได้
2. การเตรียมสารละลายเตรียมได้ดังนี้
2.1 น้ำแป้งสุก
เตรียมได้โดยการใช้แป้งมัน 6 ช้อนเบอร์ 2 ละลายในน้ำ 150 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตั้งไฟให้เดือด
คนให้เข้ากันจนได้น้ำแป้งสุก
2.2 สารละลายน้ำตาลกลูโคส
เตรียมได้โดยการใช้น้ำตาลกลูโคส 5 ช้อนเบอร์ 2
ละลายในน้ำ 150 ลูกบาศก์เซนติเมตร
คนให้ละลายจนหมด
วิธีดำเนินการทดลอง
1.นำกระดาษเซโลเฟนที่เตรียมมาชุบน้ำให้เปียกและบุลงในกล่องพลาสติกเบอร์
1
ดังรูป
ดังรูป
2.ใส่น้ำแป้งสุก
10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
และสารละลายน้ำตาลกลูโคส 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงบนกระดาษเซโลเฟนที่บุอยู่ในกล่องพลาสติก รวบที่บนของกระดาษให้เป็นถุงเล็ก รัดด้วยยางให้แน่น ยกออกมาล้างนอกถุงด้วยน้ำให้สะอาด
3.ใส่น้ำประมาณ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในกล่องพลาสติกเบอร์ 1 นำถุงกระดาษเซโลเฟนในข้อ
2 แช่ลงในกล่อง ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที
รูป แสดงขั้นตอนการทดลองอนุภาคของแป้งและน้ำตาล
4. ยกถุงกระดาษเซลโลเฟนออก เทน้ำใส่กล่องพลาสติกใส่ลงในหลอดทดลองขนาดกลาง 2
หลอด หลอดละ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
จากนั้นหยดสารละลายไอโอดีน 2 หยด ลงในหลอดที่ 1 และหยดสารละลายเบเนดิกต์
3 หยดลงในหลองที่ 2 สังเกตการเปลี่ยนแปลง/บันทึกผล
5. ใส่น้ำ
50 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในกระป๋องนม ต้มให้เดือดจุ่มหลอดทดลองที่ 2 ลงไป ต้มต่อไปอีกประมาณ 5 นาทีสังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
บันทึกผลการทดลอง
เมื่อนักเรียนดำเนินการทดลองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้บันทึกผลการทดลองลงในตารางบันทึกผลการทดลอง
ตารางบันทึกผลการทดลอง
หลอดที่
|
สารละลายที่หยด
|
การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้
|
1
|
ไอโอดีน
|
สีของสารละลายเป็นสีน้ำตาล
|
2
|
เบเนดิกต์
- ก่อนต้ม
- หลังต้ม
|
สีของสารละลายเป็นสีฟ้า
สีของสารละลายเป็นสีส้ม
|
สรุปผลการทดลอง
เมื่อนำเอาของเหลวในกล่องพลาสติกมาทดสอบกับสารละลายไอโอดีนและสารละลายเบเนดิกต์
พบว่าของเหลวที่ได้ไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน
แต่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ได้สารละลายและตะกอนสีส้ม แสดงว่าในของเหลวที่นำมาทดสอบมีน้ำตาลกลูโคสละลายปนอยู่
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำถามสำหรับใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง
ขนาดอนุภาคของแป้งและน้ำตาล
จงพิจารณาการทดลองต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม
ก่อนการทดลอง
1.
สารที่นำมาใช้ในการทดลองนี้ ที่สำคัญได้แก่อะไรบ้าง
……………………………………………………………………………………………………….
2.กระดาษเซลโลเฟนที่นำมาทดลองควรมีลักษณะเช่นไร
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
3.กระดาษเชลโลเฟนในการทดลองนี้ทำหน้าที่อะไร
……………………………………………………………………………………………………….
4.แป้งและน้ำตาลเป็นสารอาหารประเภทใด
……………………………………………………….
5.น้ำตาลที่ใช้ในการทดลองนี้เป็นน้ำตาลชนิดใด ………………………………………………….
ระหว่างการทดลอง
6.ในขณะทำการทดลอง นักเรียนต้องระวังในเรื่องใดบ้าง
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
7.ในขณะทำการทดลองมีปัญหาและอุปสรรคหรือไม่ อะไรคือปัญหาและอุปสรรค
……………………………………………………………………………………………………….
8.นักเรียนแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในขณะทำการทดลองด้วยวิธีใด
……………………………………………………………………………………………………….
หลังการทดลอง
9.
จากการทดสอบของเหลวที่ได้จากการแช่ถุงกระดาษเซลโลเฟน
นักเรียนพบอนุภาคของสารใด และไม่พบอนุภาคของสารใด
ทราบได้อย่างไร
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
10.จากการทดลองแป้งกับน้ำตาลสารใดมีอนุภาคที่ใหญ่กว่ากัน เพาระเหตุใด
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
11.ผลสรุปของการทดลองนี้คืออะไร
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………….
เฉลยคำถาม
สำหรับใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง
ขนาดอนุภาคของแป้งและน้ำตาล
ก่อนการทดลอง
1.
น้ำแป้งสุก สารละลายน้ำตาล
กลูโคส สารละลายไอโอดีน และสารละลายเบเนดิกต์
2. จะต้องเป็นกระดาษแก้วชนิดใสและเนื้อดี ไม่ใช้กระดาษแก้วธรรมดา
และไม่ใช้กระดาษแก้วชนิดที่มีพลาสติกผสมอยู่
3. กรองและตรวจสอบอนุภาคของแป้งและน้ำตาล
4. คาร์โบไฮเดรต
5. น้ำตาลกลูโคส
ระหว่างการทดลอง
6. 1. เวลารวบส่วนบนของกระดาษเซลโลเฟนอย่าให้มีรอยรั่ว และอย่าให้สารในถุงกระดาษหกล้นออกมาข้างนอกถุง
2.
ต้องล้างข้างนอกถุงกระดาษเซลโลเฟนให้สะอาดก่อนนำไปแช่น้ำในกล่อง
พลาสติกเบอร์
1
7. พิจารณาจากคำตอบของนักเรียน
8.
พิจารณาจากคำตอบของนักเรียน
หลังการทดลอง
9. จากการทดสอบของเหลว พบอนุภาคของน้ำตาล
เพราะเมื่อหยดสารละลายเบเนดิกต์ลงไปในของเหลวแล้วนำไปต้มในน้ำเดือด ปรากฏว่า
สารละลายเปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีส้ม
แต่ไม่พบอนุภาคของแป้งเพราะเมื่อหยดสารละลายไอโอดีนลงในของเหลวไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
สีของสารละลายยังคงเดิม
10.
แป้งมีอนุภาคที่ใหญ่กว่าน้ำตาล
เพราะเมื่อหยดสารละลายไอโอดีนลงไปในของเหลวที่ทดลอบไม่มีการเปลี่ยน แปลง เกิดขึ้น
แสดงว่า อนุภาคของแป้งมีขนาดใหญ่กว่าน้ำตาลและใหญ่กว่ารูของกระดาษเซลโลเฟน
จึงไม่สามารถลอดผ่านรูของกระดาษออกมาได้
11. น้ำตาลกลูโคสมีอนุภาคเล็กกว่าแป้งและเล็กกว่ารูของกระดาษเซลโลเฟน
จึงสามารถลอดผ่านรุของกระดาษเซลโลเฟนออกมาได้ ส่วนแป้งมีขนาดอนุภาคใหญ่ก่วาน้ำตาลและใหญ่กว่า
รูของกระดาษเชลโลโฟนจึงไม่สามารถลอดผ่านรูของกระดาษเชลโลโฟนออกมาได้
ใบความรู้ที่
2
เรื่อง
ระบบย่อยอาหารและการย่อยอาหาร
1.
ระบบย่อยอาหาร
ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญ
โดยเริ่มตั้งแต่ ปาก-ฟัน-ลิ้น-ต่อมน้ำลาย-คอหอย-กระเพาะ –อาหาร-ลำไส้เล็ก-ลำไส้ใหญ่-ลำไส้ตรง จนถึงสุดปลายทางที่ทวารหนัก
และนอกจากนี้ยังมีตับสร้างน้ำดีตับอ่อนสร้างน้ำย่อยอีกด้วย
1.1
คอหอย (pharynx)
เป็นส่วนในสุดต่อจากช่องปาก
บริเวณคอหอยมีช่องเปิดเข้าสู่หลอดลดและหลอดอาหาร
1.2
หลอดอาหาร (oesophagus) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบที่สามารถบีบตัวเป็นจังหวะในขณะที่มีอาหารผ่านลงมา
มีหน้าที่ลำเลียงอาหารจากช่องปากผ่านลงไปยังกระเพาะอาหาร
1.3
กระเพาะ (stomach)
ผนังกระเพาะมีกล้ามเนื้อหนาแข็งแรงมาก และยืดหยุ่นได้
จุถึง 1,000-1,200 ลูกบาศก์เซนติเมตร
มีกล้ามเนื้อหูรูดอยู่ 2 แห่ง คือ
กล้ามเนื้อหูรูดส่วนที่ติดกับหลอดอาหารและกล้ามเนื้อหูรูดส่วนที่ติดกับลำไส้เล็ก
ที่ผนังด้านในของกระเพาะสามารถหลั่งน้ำย่อยและกรดเกลือออกมาย่อยสารจำพวกโปรตีนได้
1.4
ลำไส้เล็ก (small intestine) เป็นทางเดินอาหารต่อจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้ใหญ่
ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหารไปเลี้ยงร่างกาย ลำไส้เล็กของคนมีความยาวประมาณ 7 เมตร ขดอยู่ในช่องท้อง
การย่อยในลำไส้เล็กเกิดจากการทำงานร่วมกันของสารจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่
ตับอ่อน ผนังลำไส้เล็กและตับ สามารถย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ลำไส้เล็กแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1)
ดูโอดีนัม (duodenum)
2)
เจจูนัม (jejunum)
3)
ไอเลียม (ilium)
1.5
ลำไส้ใหญ่
(large intestine)
เป็นทางเดินอาหารต่อจากลำไส้เล็กไปยังทวารหนัก
ทำหน้าที่รับกากอาหารจากลำไส้เล็ก
และดูดน้ำจากากอาหาร ลำไส้ใหญ่ของคนมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร ในลำไส้ใหญ่ไม่มีความสามารถในการสร้างน้ำย่อย
จึงไม่เกิดการย่อยอาหารในส่วนนี้
2.
การย่อยอาหาร (digestion)
คือการแปรสภาพสารอาหารโดยใช้เอนไซม์เข้าทำปฏิกิริยาทำให้สารอาหารโมเลกุลใหญ่มีโมเลกุลเล็กลงจนกระทั่งสามารถซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้
เมื่ออาหารเข้าสู่ช่องปากจะถูกบดเคี้ยวโดยฟันให้มีขนาดเล็กลง
และคลุกเคล้าโดยน้ำลายและเอนไซม์ไทยาลิน (ptyalin) เพื่อย่อยแป้งให้เป็นเดกซ์ทริน (dextrin) แล้วส่งผ่านหลอดอาหารไปยังกระเพาะ
อาหารประเภทโปรตีนเท่านั้นที่จะถูกย่อยด้วยน้ำย่อยเฟปซินที่ทำงานร่วมกับกรดไฮโดรคลอริกที่ผนังกระเพาะหลั่งออกมา
แล้วอาหารที่มีโมเลกุลเล็กลงเหล่านี้จะส่งผ่านไปถึงลำไส้เล็กซึ่งมีน้ำดีจากตับผลิเก็บไว้ในถุงน้ำดีส่งเข้ามาทำให้ไขมันแตกตัว
และถูกย่อยด้วยเอนไซม์ลิเพสที่สร้างจากตับอ่อน โมเลกุลของไขมันที่ถูกย่อย แล้วจะได้กลีเซอรอลและกรดไขมัน ส่วนคาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ที่ผลิตจากผนังลำไส้เล็ก
โดยมอลเทส ซูเครสและแลกเทส ให้เป็นน้ำตาลกลูโคส
ส่วนโปรตีนจะมีน้ำย่อยทริปซินและไคโมทริปซินย่อยโปรตีนโมเลกุลเล็กจำพวกพอลิเฟปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโน
3.
อวัยวะที่ช่วยย่อยอาหาร
3.1
ตับ
ตับ
ทำหน้าที่สร้างน้ำดีส่งไปเก็บไว้ในถุงน้ำดี ซึ่งมีท่อน้ำดีเปิดสู่ลำไส้เล็ก
น้ำดีจะทำให้ไขมันแตกตัวและมีขนาดเล็กลง
เพื่อให้เอนไซม์ทำหน้าที่ย่อยไขมันได้ง่ายขึ้น
3.2
ตับอ่อน
ตับอ่อน
ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์หลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสารอาหารซึ่งเอนไซม์ที่สร้างแล้วจะถูกส่งไปยังลำไส้เล็ก
เพื่อใช้ในการย่อยสารอาหารต่อไป
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
เรื่อง
ระบบย่อยอาหารและการย่อยอาหาร
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. การย่อยอาหาร หมายถึงข้อใด
ก.การแปรสภาพอาหารโดยใช้เอนไซม์ในอวัยวะต่างๆ
ข.การแปรสภาพอาหารโดยใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง
ค.การเปลี่ยนสารอาหารให้มีขนาดอนุภาคเล็กลงจนสามารถแพร่ผ่านเยื้อหุ้มเซลล์ได้
ง.การเปลี่ยนสารอาหารที่มีขนาดอนุภาคใหญ่ให้กลายเป็นสารอาหารที่มีขนาดอนุภาคเล็ก
2.การย่อยอาหารในทางเดินอาหารต้องมีสิ่งใดเป็นตัวช่วยในการย่อย
ก.กรด ข.เอนไซม์
ค.สารละลายเบส ง.วิตามินและแร่ธาตุ
3.ข้อใดเป็นคุณสมบัติของ เอนไซม์
ไม่ถูกต้อง
ก.เป็นสารประเภทโปรตีน
ข.ทำให้สารอาหารเฉพาะอย่างเปลี่ยนแปลง
ค.เมื่ออุณหภูมิยิ่งสูงขึ้นยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ง.ทำให้สารอาหารเปลี่ยนแปลงโดยเอนไซม์ไม่เปลี่ยนแปลง
4.อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ในรางกาย คืออุณหภูมิเท่าใด
ก.28 0C ข.32
0C ค.37 0C ง.40
0C
5.เมื่อเรากินอาหารเข้าไป เพราะเหตุใดร่างกายจึงต้องมีการย่อยอาหารนั้นๆ
ก.เพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย
ข.เพื่อให้เซลล์ของร่างกายได้รับอาหาร
ค.เพื่อให้อาหารปนหรือผสมกับน้ำย่อย
ง.เพื่อให้อาหารสามารถแพร่ผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่เซลล์ได้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เฉลยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการย่อยอาหาร
1. ค 2. ข 3. ค 4. ค 5. ง
ใบงานที่ 2
เรื่อง
ระบบย่อยอาหารและการย่อยอาหาร
คำชี้แจง จงตอบคำถามหรือเติมช่องว่างด้วยคำหรือข้อความสั้น ๆ
1.ถ้าร่างกายมนุษย์มีกลไกการทำงานคล้ายกับกลไกการทำงานในโรงงานสับปะรดกระป๋อง การหั่นสับปะรดเป็นชิ้นเล็ก ๆ
เทียบได้กับกลไกใดในร่างกายมนุษย์
คำตอบ ……………………………………………………………………………………………
2.หน่วยมีชีวิตที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต
คืออะไร
คำตอบ ……………………………………………………………………………………………
3. สิ่งมีชีวิตต้องการอาหารและอากาศเพื่อนำไปเลี้ยงอะไรในร่างกาย
คำตอบ ……………………………………………………………………………………………
4.อาหารและอากาศจะถูกลำเลียงไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้จะต้องผ่านกลไกใดเป็นอันดับแรก
คำตอบ ……………………………………………………………………………………………
5.จากการทดสอบขนาดอนุภาคของแป้งและน้ำตาล
สารใดสามารถลอดผ่านรูของกระดาษเซลโลเฟนได้
คำตอบ ……………………………………………………………………………………………
6.ถ้าเปรียบกระดาษเซลโลเฟนเป็นเยี่อหุ้มเซลล์รูของกระดาษเซลโลเฟนจะเปรียบได้กับ
คำตอบ ……………………………………………………………………………………………
7.สาเหตุที่สารอาหารประเภทแป้งไม่สามารถซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
คืออะไร
คำตอบ ……………………………………………………………………………………………
8.โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
วิตามิน และแร่ธาตุ สารอาหารประเภทใดสามารถซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ได้เลย
โดยไม่ต้องผ่านการย่อย
คำตอบ ……………………………………………………………………………………………
9.กลไกการย่อยอาหารในร่างกายมนุษย์เกี่ยวข้องกับอวัยวะใดบ้าง
คำตอบ ……………………………………………………………………………………………
10.เพราะเหตุใดสารอาหารประเภทโปรตีน
คาร์โบไฮเดรต และไขมัน จึงต้องผ่านกลไกการย่อยก่อนที่จะนำไปยังเซลล์ต่าง
ๆ ในร่างกาย
คำตอบ ……………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………..
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เฉลยใบงานที่ 2
เรื่อง
ระบบย่อยอาหารและการย่อยอาหาร
1. การย่อยอาหาร
2. เซลล์
3. เซลล์ต่างๆ
4. การย่อย
5.น้ำตาล
6. รูของเยื่อหุ้มเซลล์
7. แป้งมีอนุภาคขนาดใหญ่กว่ารูของเยื่อหุ้มเซลล์
8. วิตามิน และแร่ธาตุ
9. ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี
10. เพราะสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน
เป็นสารอาหารที่มีอนุภาคขนาดใหญ่เกินกว่าที่ลำเลียงไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างการได้
จึงจำเป็นต้องย่อยให้มีอนุภาคขนาดเล็กลงจนสามารถลำเลียงไปยังเซลล์ต่าง ๆ ได้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น