แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้

แผนที่ 1


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3        รหัสวิชา ว22101                          กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ                                                            ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2          
เรื่อง การปฐมนิเทศนักเรียน                                                                                                        เวลา  1 ชั่วโมง

…………………………………………………………………………………

จุดประสงค์

            1. เพื่อทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยระหว่างครูกับนักเรียน
            2. เพื่อทำความเข้าใจกับนักเรียน เรื่องคะแนน เวลาเรียน ระเบียบปฏิบัติ และกติกาในการเรียน
                วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3
3. เพื่อให้นักเรียนทราบข้อปฏิบัติ และข้อควรระวังในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
            4. เพื่อให้นักเรียนมีเวลาในการเตรียมตัวล่วงหน้า และพร้อมที่จะเรียนเนื้อหาในชั่วโมงต่อไป

เนื้อหา

1.) หน่วยการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 322101 ที่จะเรียนในภาคเรียนที่ 1/2556 มี ดังนี้
            หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์ (14 ชั่วโมง) ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ ดังนี้
                - การจัดระบบในร่างกาย
                                - โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
                                - พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์
       หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 อาหารและการดำรงชีวิต (8 ชั่วโมง) ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ ดังนี้
                                - อาหารและสารอาหาร
- โภชนาการกับสุขภาพ
- สารเสพติดและผลต่อร่างกาย
                  หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ชีวิตสัตว์ (2 ชั่วโมง) ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ ดังนี้
                                - โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ในร่างกายสัตว์
              หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พฤติกรรมของสัตว์ ( 2ชั่วโมง) ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ดังนี้
                                - พฤติกรรมการตอบสนองของสัตว์
             หน่วยการเรียนรู้ที่ 5  เทคโนโลยีชีวภาพ ( 2 ชั่วโมง) ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ดังนี้
                                - เทคโนโลยีชีวภาพกับการขยายพันธ์และปรับปรุงพันธุ์
      หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ธาตุและสารประกอบ (8 ชั่วโมง) ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ ดังนี้
-                   ธาตุและสารประกอบ

               
              หน่วยการเรียนรู้ที่ 7  การแยกสาร (8 ชั่วโมง) ซึ่งมีสาระ การเรียนรู้ ดังนี้
                                - การแยกสาร
               หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ปฏิกิริยาเคมี (12 ชั่วโมง) ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ ดังนี้
                                - ปฏิกิริยาเคมี
                                - ผลของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
2.)        หลักเกณฑ์การวัดผลและการให้คะแนน มีดังนี้
                1. อัตราส่วนคะแนนระหว่างภาคต่อปลายภาค  =  70 :   30
                2. คะแนนระหว่างเรียนแบ่งเก็บดังนี้
                                2.1. คะแนนด้านความรู้     40 คะแนน
                                2.2. คะแนนด้านทักษะ     20  คะแนน
                                2.3. คะแนนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์  10  คะแนน
                3. การตัดสินผลการเรียน
                                คะแนนต่ำกว่า   50  คะแนน                            ผลการเรียน          0
                                คะแนนระหว่าง   50 -54  คะแนน                 ผลการเรียน          1
                                คะแนนระหว่าง   55 -59  คะแนน                 ผลการเรียน          1.5
                                คะแนนระหว่าง   60 -64  คะแนน                 ผลการเรียน          2
                                คะแนนระหว่าง   65 -69  คะแนน                 ผลการเรียน          2.5
                                คะแนนระหว่าง   70 -74  คะแนน                 ผลการเรียน          3
                                คะแนนระหว่าง   75 -79  คะแนน                 ผลการเรียน          3.5
                                คะแนนมากกว่า  80 คะแนนขึ้นไป                ผลการเรียน         4
3.)        ข้อตกลงเกี่ยวกับหลักการ ข้อปฏิบัติและกฎระเบียบในการเรียนการสอนในห้องเรียน
1. นักเรียนต้องเข้าเรียนไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของเวลาเรียนทั้งหมด
2. ไม่หยอกล้อ พูดคุยเสียงดัง หรือส่งเสียงรบกวน ในเวลาเรียน
3. นักเรียนต้องเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา
4. หากมีความจำเป็นต้องออกจากห้อง ต้องขออนุญาตครูผู้สอนก่อนทุกครั้ง
5. ไม่นำอาหารมารับประทานในห้องเรียนขณะครูสอน
6. หากมีข้อสงสัยขณะเรียน ให้สอบถามครูได้ทันที                     
            4) ข้อตกลงในการปฏิบัติการทดลอง
                    1. ก่อนทำการทดลองต้องฟังคำชี้แจงให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
                    2. ทำการทดลองตามที่กำหนดท่านั้น
                    3. ไม่นำอุปกรณ์ในการทดลองมาใช้ด้วยจุดประสงค์อื่นใดนอกเหนือจากการทดลอง
                    4. ก่อนใช้อุปกรณ์การทดลองต้องได้รับอนุญาตจากครูผู้สอน
                    5. ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ด้วยความระมัดระวัง
                    6. ห้ามนำอุปกรณ์การทดลองออกจากห้องปฏิบัติการ
                    7. ไม่หยอกล้อกันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่นอกเหนือจากการทดลอง
                    8. ไม่นำอาหารมารับประทานในห้องปฏิบัติการ
                    9. ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเรื่องความปลอดภัยในการทดลองต่างๆ อย่างเคร่งครัด

กิจกรรมการเรียนการสอน

     ขั้นนำ

1. ครูกล่าวสวัสดีนักเรียน และแนะนำตัวเอง โดยบอกชื่อ นามสกุล พร้อมทั้งเขียนบนกระดาน
    ( นางผ่องศรี   เจียมฉวี )
2. บอกภูมิลำเนา และสถาบันที่จบการศึกษา ( ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
     จบการศึกษาจากวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง )
3. สุ่มสอบถามนักเรียนว่าช่วงปิดภาคเรียนที่ผ่านมา ไปทำอะไรบ้างและนำเข้าสู่เรื่องที่จะเรียน

ขั้นสอน
       1. ครูบอกหน่วยการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ ที่จะเรียนในภาคเรียนที่ 1 จำนวน 8 เรื่อง คือ ระบบร่างกายมนุษย์  อาหารและการดำรงชีวิต  ชีวิตสัตว์  พฤติกรรมของสัตว์เทคโนโลยีชีวภาพ ธาตุและสารประกอบ การแยกสารและปฏิกิริยาเคมี ครูแจ้งตัวชี้วัดและอภิปรายถึงเนื้อหา ที่จะเรียนร่วมกันกับนักเรียน
2. ครูและนักเรียนตกลงหลักเกณฑ์การวัดผลและการให้คะแนนในส่วนต่างๆร่วมกัน โดยเขียน
บนกระดานจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน (เก็บ 2 ภาคเรียนหรือ 1 ปีการศึกษา) เป็นดังนี้
                1. อัตราส่วนคะแนนระหว่างภาคต่อปลายภาค  =  70 :   30
                2. คะแนนระหว่างเรียนแบ่งเก็บดังนี้
                                2.1. คะแนนด้านความรู้     40 คะแนน
                                2.2. คะแนนด้านทักษะ     20  คะแนน
                                2.3. คะแนนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์  10  คะแนน
3. ข้อตกลงเกี่ยวกับหลักการ ข้อปฏิบัติและกฎระเบียบในการเรียนการสอนในห้องเรียน ดังนี้
1. นักเรียนต้องเข้าเรียนไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของเวลาเรียนทั้งหมด
2. ไม่หยอกล้อ พูดคุยเสียงดัง หรือส่งเสียงรบกวนเพื่อนนักเรียน ในเวลาเรียน
3. นักเรียนต้องเข้าเรียนให้ตรงเวลา
4. หากมีความจำเป็นต้องออกจากห้องเรียน ต้องขออนุญาตครูผู้สอนก่อนทุกครั้ง
5. ไม่นำอาหารมารับประทานในห้องเรียนขณะครูสอน
6. หากมีข้อสงสัยขณะเรียน ให้สอบถามครูได้ทันที
7. ข้อตกลงอื่นๆ โดยตกลงกับนักเรียน ดังนี้
                - นักเรียนทุกคนต้องมีสมุดเพื่อจดบันทึกและทำแบบฝึกหัด คนละ 1 เล่ม     
              4.  ข้อตกลงในการปฏิบัติการทดลอง ซึ่งในภาคเรียนนี้จะมีการทำการทดลองด้วยนั้น ดังนี้
                    1. ก่อนทำการทดลองต้องฟังคำชี้แจงให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
                    2. ทำการทดลองตามที่กำหนดท่านั้น
                    3. ไม่นำอุปกรณ์ในการทดลองมาใช้ด้วยจุดประสงค์อื่นใดนอกเหนือจากการทดลอง
                    4. ก่อนใช้อุปกรณ์การทดลองต้องได้รับอนุญาตจากครูผู้สอน
                    5. ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ด้วยความระมัดระวัง
                    6. ห้ามนำอุปกรณ์การทดลองออกจากห้องปฏิบัติการ
                    7. ไม่หยอกล้อกันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่นอกเหนือจากการทดลอง
                    8. ไม่นำอาหารมารับประทานในห้องปฏิบัติการ
                    9. ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเรื่องความปลอดภัยในการทดลองต่างๆ อย่างเคร่งครัด
        5. ครูบอกห้องพักครู และโต๊ะที่ครูนั่ง เพื่อให้นักเรียนที่มีข้อสงสัย หรือรับส่งแบบฝึกหัด สามารถติดต่อได้ถูกต้อง ( ห้องวิทยาศาสตร์ )
        6. ครูแจกแบบแนะนำตนเอง ให้นักเรียนได้กรอกข้อมูลเพื่อแนะนำตนเองให้ครูรู้จัก โดยใช้เวลาประมาณ  10 นาที ระหว่างที่นักเรียนกรอกข้อมูลครูเดินดูเพื่อให้คำแนะนำ  จากนั้นครูสุ่มนักเรียนเพื่อทำความรู้จักประมาณ 5 คน

ขั้นสรุป

1. ครูถามนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่ครูกล่าวมาข้างต้น ว่ามีอะไรบ้างมีรายละเอียดที่สำคัญอย่างไร
   ( เรื่องที่จะเรียน,หลักเกณฑ์การให้คะแนน , กฎระเบียบ ข้อตกลง ข้อควรปฏิบัติ กติกาใน
      การเรียนการสอน การทดลองโดยมีรายละเอียดที่สำคัญตามที่กล่าวไว้ข้างต้น)
2. ครูถามนักเรียนว่าห้องพักครูอยู่ที่ไหน ( ห้องวิทยาศาสตร์ )
3. ครูซักถามนักเรียนว่ามีข้อสงสัยอะไรอีกหรือไม่ (มี/ไม่มี)
            4. ครูบอกให้นักเรียนศึกษาเรื่องที่จะเรียนในชั่วโมงต่อไปล่วงหน้า (เรื่อง การจัดระบบในร่างกาย)
           และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สื่อการเรียนการสอน
                1. ตัวชี้วัดรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 22101
2. แบบฟอร์มแนะนำตนเองของนักเรียน
3. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ของ สสวท.
              4. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของ แม็ค

การวัดและประเมินผล

การวัดผลประเมินผลด้าน
วิธีการวัด

เครื่องมือวัด

เกณฑ์การผ่าน
1.ด้านความรู้ความเข้าใจ
1. วัดจากสอบถาม

1.แบบสอบถาม

1. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือเท่ากับ
3 ข้อขึ้นไป
2. ด้านทักษะกระบวนการ
-
-
-
3.  ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
การสังเกตพฤติกรรมความสนใจและตั้งใจเรียน
แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจและตั้งใจเรียน
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป

กิจกรรมเสนอแนะ

                ครูควรแนะนำเทคนิค วิธีเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 ให้ประสบความสำเร็จ และมีแบบทดสอบก่อนเรียนให้นักเรียนทำ


 






















บันทึกผลหลังการสอน
รายวิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน  322101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ภาคเรียนที่  1   ปีการศึกษา  2556
แผนการจัดการเรียนรู้ที่…...เรื่อง……………………….……………..…………..……………..เวลา ……คาบ
……………………………………………………………………………………………………………………...
1. จำนวนนักเรียนที่ใช้สอน
ระดับชั้น
จำนวนนักเรียน ( คน)
มัธยมศึกษาปีที่ 2/1

มัธยมศึกษาปีที่ 2/2

2. ผลการสอน
     2.1) ความเหมาะสมของระยะเวลา                              (  ) ดีมาก       (  ) ดี        (  ) พอใช้        (  ) ต้องปรับปรุง
     2.2) ความเหมาะสมของเนื้อหา                                (  ) ดีมาก       (  ) ดี        (  ) พอใช้        (  ) ต้องปรับปรุง
     2.3) ความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนการสอน    (  ) ดีมาก       (  ) ดี        (  ) พอใช้        (  ) ต้องปรับปรุง
     2.4) ความเหมาะสมของสื่อการสอนที่ใช้                   (  ) ดีมาก      (  ) ดี         (  ) พอใช้        (  ) ต้องปรับปรุง
……………………………………………………………………………………………………………………...
     2.5) พฤติกรรม/การมีส่วนร่วมของนักเรียน               (  ) ดีมาก       (  ) ดี        (  ) พอใช้        (  ) ต้องปรับปรุง
     2.6) ผลการปฏิบัติกิจกรรม/ใบกิจกรรม การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
              1) การประเมินผลก่อนการเรียนโดยใช้แบบทดสอบชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก  จำนวน 10 ข้อ พบว่านักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย………จากคะแนนเต็ม…………..…  มีนักเรียนร้อยละ ………. ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้คือร้อยละ 50
              2.) การประเมินผลหลังการเรียน โดยใช้แบบทดสอบชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก  จำนวน 10 ข้อ พบว่า นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย………จากคะแนนเต็ม…………....  มีนักเรียนร้อยละ …….…. ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้คือร้อยละ 60
                3.) การประเมินด้านทักษะกระบวนการ ผลการประเมินโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมพบว่ามีนักเรียนร้อยละ ..……….. ผ่านเกณฑ์การประเมิน และมีนักเรียนร้อยละ ………ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ปัญหาและอุปสรรค
……………………………………………………………………………………………………………………... ……………………………………………………………………………………………………………………...……………………………………………………………………………………………………………………...
4. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
……………………………………………………………………………………………………………………...……………………………………………………………………………………………………………………...



แบบฟอร์มแนะนำตนเองของนักเรียน

1.ชื่อ……………………………………...นามสกุล……………..……………ชื่อเล่น……………
เกิดวัน…………..ที่……… เดือน…………………….…………………อายุ……ปี
ความใฝ่ฝันในอนาคตอยากเป็น…………………………………………………………………….
ความสามารถพิเศษ…………………………………………………………………………………
คติประจำใจ………………………………………………………………………………………..
2.ที่อยู่ของนักเรียนที่สามารถติดต่อได้สะดวก………………………………………………………………………………………………………….……………โทร…………………………………
3. ชื่อเพื่อนสนิทในโรงเรียน
1)………………………………………………………ชั้น…………………………………..
2)………………………………………………………ชั้น………………………………….
4. วิชาที่ชอบ……………………….………………………เพราะ…………………………………
     วิชาที่ไม่ชอบ………………………..………………….เพราะ…………………………………
    วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่………………………………………………………………………..
ต้องการให้จัดการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง…………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………

เรื่องที่อยากบอกให้ครูผู้สอนทราบ

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ความคาดหวังที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กับครูผู้สอน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
  ลงชื่อ………………………………………..
                                                                                                     (…………………………………….….)

ตัวชี้วัดรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 รหัสวิชา ว22101

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556


                1. อธิบายโครงสร้างและการทำงานของระบบ ย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ ของมนุษย์และสัตว์ รวมทั้งระบบประสาทของมนุษย์        
                2. อธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆ ของ มนุษย์และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
                3. สังเกตและอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกและภายใน     
                4. อธิบายหลักการและผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ และเพิ่มผลผลิตของสัตว์และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
                5. ทดลอง วิเคราะห์ และอธิบายสาร อาหารในอาหารมีปริมาณพลังงานและสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย
                6. อภิปรายผลของสารเสพติดต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และแนวทางในการป้องกันตนเองจากสารเสพติด
                7. สำรวจและอธิบายองค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ 
                8. สืบค้นข้อมูลและเปรียบเทียบสมบัติของธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ ธาตุกึ่งโลหะและธาตุกัมมันตรังสีและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์      
                9. ทดลองและอธิบายการหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง  การตกผลึก การสกัด  การกลั่น  และโครมาโทกราฟี และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
                10. ทดลองและอธิบายการเปลี่ยนแปลงสมบัติ มวล และพลังงานเมื่อสารเกิดปฏิกิริยาเคมี รวมทั้งอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี  
                11. ทดลอง อธิบายและเขียนสมการเคมีของปฏิกิริยาของสารต่างๆ  และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์  
                12. สืบค้นข้อมูลและอภิปรายผลของสารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม    
                13.สืบค้นข้อมูลและอธิบายการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง ปลอดภัย วิธีป้องกันและแก้ไขอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมี          


*****************************************************************************

1 ความคิดเห็น: