แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ระบบร่างกายมนุษย์


ระบบร่างกายมนุษย์
โครงสร้างการทำงานของร่างกายมนุษย์
ในการศึกษาทางจิตวิทยา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ซึ่งการที่มนุษย์จะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมานั้นเป็นเพราะระบบการทำงานของร่างกาย ไม่ว่านักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ทำการศึกษาค้นคว้ามาเป็นระยะเวลายาวนานต่างมีความคิดเห็นตรงกันว่าร่างกายมนุษย์ สัตว์ หรือพืชทั้งหลายจะมีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นจากหน่วยที่เล็กที่สุดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจนกระทั่งถึงส่วนประกอบที่ใหญ่ที่สุด แต่ละส่วนจะมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน โดยไม่มีส่วนใดที่สามารถทำงานอย่างอิสระยกเว้นเม็ดเลือด โดยประมาณได้ว่า 75 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของร่างกายผู้ใหญ่ประกอบด้วยน้ำ ส่วนที่เหลือเป็นสารประกอบทางเคมี สารประกอบเหล่านี้รวมตัวกันเป็นเซลล์ หลายร้อยชนิด ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของร่างกาย มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนที่สุดในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนพื้นโลก โดยเฉลี่ยแล้วร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ 80 – 100 ล้านล้านเซลล์แต่ละชุดจะถูกกำหนดให้มีการเจริญเติบโตและทำหน้าที่เฉพาะ โดยเซลล์ชนิดเดียวกันจะรวมตัวเป็นเนื้อเยื่อ (tissues) เนื้อเยื่อหลาย ๆ ประเภทเมื่อมาทำงานร่วมกัน เรียกว่าอวัยวะ (organ) แต่ละอวัยวะเมื่อทำงานร่วมกันเรียกว่าระบบ (system) อาจแสดงโดยแผนผังต่อไปนี้
ดังนั้น เมื่อเซลล์มารวมกลุ่มเป็นเนื้อเยื่อพิเศษ เช่น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก ฯลฯ เนื้อเยื่อเหล่านี้จะทำงานร่วมกันเป็นอวัยวะและในที่สุดอวัยวะเหล่านี้จะถูกจัดสรรเป็นระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อมต่าง ๆ และระบบประสาท เป็นต้นระบบต่าง ๆ ในร่างกายระบบต่าง ๆ ในร่างกายมีการทำงานที่สัมพันธ์กันเพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ การทำงานของระบบภายในร่างกาย

อาจจำแนกออกได้เป็น 10 ระบบ ดังนี้
1. ระบบผิวหนัง (Intergumentary System) ทำหน้าที่ห่อหุ้มปกคลุมร่างกาย ประกอบด้วยผิวหนัง (Skin) และอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงมาจากผิวหนัง เช่น ขน ผม เล็บ ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำมัน
2. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) ทำหน้าที่ช่วยทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว
3. ระบบโครงกระดูก (Skeletal System) ทำหน้าที่ทำงานร่วมกับระบบกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกายอีกด้วย
4. ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System) ทำหน้าที่นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กับของเสียจากเซลล์มาขับทิ้ง นอกจากนี้ ยังนำฮอร์โมนที่ผลิตได้จากต่อมไร้ท่อเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
5. ระบบหายใจ (Respiratory System) ทำหน้าที่รับออกซิเจนจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์จากภายในออกมาขับทิ้งสู่ภายนอกร่างกาย โดยอาศัยระบบไหลเวียนโลหิตเป็นตัวกลางในการลำเลียงแก๊ส
6. ระบบประสาท (Nervous System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกระบบในร่างกาย ให้สัมพันธ์กันโดยทำงานร่วมกับระบบต่อมไร้ท่อนอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับและตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
7. ระบบต่อมต่าง ๆ (glands System) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน (hormone) ซึ่งเป็นสารเคมีและของเหลวโดยทำงานร่วมกับระบบประสาทในการควบคุมปฏิกริยาการเผาผลาญต่าง ๆ ในร่างกาย
8. ระบบย่อยอาหาร (Digestive System) ทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารที่รับประทานเข้าไปให้เป็นสารอาหาร และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
9. ระบบขับถ่าย (Excretory System) ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการให้ออกจากร่างกาย
10. ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System) ทำหน้าที่สืบทอด ดำรงและขยายเผ่าพันธุ์ ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อไม่ให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์

ระบบผิวหนัง
ทำหน้าที่ห่อหุ้มปกคลุมร่างกาย ประกอบด้วยผิวหนัง (Skin) และอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงมาจากผิวหนัง เช่น ขน ผม เล็บ ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำมัน

ระบบกล้ามเนื้อ



ทำหน้าที่ช่วยทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวระบบโครงกระดูก

ทำหน้าที่ทำงานร่วมกับระบบกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกายอีกด้วย

ระบบไหลเวียนโลหิต

ทำหน้าที่นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กับของเสียจากเซลล์มาขับทิ้ง นอกจากนี้ ยังนำฮอร์โมนที่ผลิตได้จากต่อมไร้ท่อเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

ระบบหายใจ

ระบบหายใจ คือ ระบบที่ร่างกายแลกเปลี่ยนแก๊ส โดยร่างกายจะรับแก๊สออกซิเจนที่อยู่ภายนอกเข้าสู่ร่างกาย และขับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย อวัยวะที่สำคัญในระบบนี้ได้แก่ จมูก หลอดลม ปอด กล้ามเนื้อกระบังลมและกระดูกซี่โครง

ระบบประสาท


• ระบบประสาท ระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system หรือ CNS) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลังและระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทรอบนอก ( peripheral nervous system หรือ PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง (cranial nerve) และเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) และระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) ระบบประสาทรอบนอกหรือระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทรอบนอกประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกทั้งหมด เส้นประสาทที่ติดต่อระหว่างหน่วย รับความรู้สึกกับระบบประสาทส่วนกลาง และเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างระบบประสาทส่วนกลางกับหน่วยปฏิบัติงาน

ระบบต่อมต่างๆ


ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน (hormone) ซึ่งเป็นสารเคมีและของเหลวโดยทำงานร่วมกับระบบประสาทในการควบคุมปฏิกริยาการเผาผลาญต่าง ๆ ในร่างกาย

ระบบย่อยอาหาร

ทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารที่รับประทานเข้าไปให้เป็นสารอาหาร และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ระบบขับถ่าย

การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียจากร่างกาย และช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอยด้วย ไต ตับ และลำไส้ เป็นต้น
ระบบสืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย

อวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย
1. อัณฑะ (Testis) เป็นต่อมรูปไข่ มี 2 อัน ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย และสร้างฮอร์โมนเพศชายเพื่อควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย เช่น การมีหนวดเครา เสียงห้าว เป็นต้น ภายในอัณฑะจะประกอบด้วย หลอดสร้างตัวอสุจิ (Seminiferous Tubule) มีลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ ขดไปขดมาอยู่ภายใน ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ หลอดสร้างตัวอสุจิมีข้างละประมาณ 800 หลอด แต่ละหลอดมีขนาดเท่าเส้นด้ายขนาดหยาบ และยาวทั้งหมดประมาณ 800 เมตร
2. ถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) ทำหน้าที่ห่อหุ้มลูกอัณฑะ ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ ซึ่งตัวอสุจิจะเจริญได้ดีในอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส
3. หลอดเก็บตัวอสุจิ (Epididymis) อยู่ด้านบนของอัณฑะ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ยาวประมาณ 6 เมตร ขดทบไปมา ทำหน้าที่ี่เก็บตัวอสุจิจนตัวอสุจิเติบโตและแข็งแรงพร้อมที่จะปฏิสนธิ
4. หลอดนำตัวอสุจิ (Vas Deferens) อยู่ต่อจากหลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal Vesicle) ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ เช่น น้ำตาลฟรักโทส วิตามินซี โปรตีนโกลบูลิน เป็นต้น และสร้างของเหลวมาผสมกับตัวอสุจิเพื่อให้เกิดสภาพที่เหมาะสมสำหรับตัวอสุจิ
6. ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) อยู่ตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อทำลายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ
7. ต่อมคาวเปอร์ (Cowper Gland) อยู่ใต้ต่อมลูกหมากลงไปเป็นกระเปาะเล็กๆ ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
1. รังไข่ ( Ovary ) มีรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยาวประมาณ 2- 36 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 2- 3 กรัม และมี 2 อันอยู่บริเวณปีกมดลูกแต่ละข้างทำหน้าที่ ดังนี้
1.1. ) ผลิตไข่ (Ovum) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง โดยปกติไข่จะสุกเดือนละ 1 ใบ จากรังไข่ แต่ละข้างสลับกันทุกเดือน และออกจากรังไข่ทุกรอบเดือนเรียกว่า การตกไข่ ตลอดช่วงชีวิตของ เพศหญิงปกติจะมีการผลิตไข่ประมาณ 400 ใบ คือ เมตั้งแต่อายุ 12 ปี ถึง 50 ปี จึงหยุดผลิต เซลล์ไข่จะมีอายุอยู่ได้นานประมาร 24 ชั่วโมง
1.2 ) สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่
• อีสโทรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก ช่องคลอด ต่อมน้ำนม และควบคุมการเกิดลักษณะต่างๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงแหลมเล็ก ตะโพกผาย หน้าอก และ อวัยวะเพศขยายใหญ่ขึ้น เป็นต้น• โพรเจสเทอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่ทำงานร่วมกับอีสโทรเจนในการควบคุมเกี่ยวกับ การเจิญของมดลูก การเปลี่ยนแปลงเยื่อบุมดลูกเพื่อเตรียมรับไข่ที่ผสมแล้ว
2. ท่อนำไข่ หรือปีกมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก โดยมีปลาย ข้างหนึ่งเปิดอยู่ใกล้กับรังไข่เรียกว่า ปากแตร ซึ่งทำหน้าที่โบกพัดให้ไข่ ที่ตกมาจากรังไข่เข้าไปใน ท่อนำไข่ ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ 3. มดลูก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว และเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์4. ช่องคลอด ทำหน้าที่เป็นทางผ่านออกของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก เป็นทางผ่านออกของทารก เมื่อครบกำหนดคลอด และเป็นทางที่ประจำเดือนออกมาได้