แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้

แผนที่ 2



แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3        รหัสวิชา ว22101                          กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ                                                            ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2       
สาระที่ 1   หน่วยที่ 1                          เรื่อง การจัดระบบในร่างกายมนุษย์                      เวลา 1.00 ชั่วโมง

………………………………………………………………………………………………………
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต   ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กันมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
แนวความคิดหลัก
อาหารที่มนุษย์และสัตว์กินเข้าไปจะถูกย่อยและดูดซึมบริเวณทางเดินอาหาร ในมนุษย์การย่อยอาหารเริ่มต้นภายในปากโดยมีฟันบดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลงและเอนไซม์ที่สร้างจากต่อมน้ำลายย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล อาหารจะผ่านไปตามหลอดอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งมีเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนให้เป็นสายสั้นๆ และกรดอะมิโน จากนั้นอาหารจะเคลื่อนต่อไปยังลำไส้เล็กและถูกย่อยจนสมบูรณ์โดยเอนไซม์หลายชนิด การดูดซึมโมเลกุลสารอาหารเกิดบริเวณลำไส้เล็ก    อาหารที่เหลือจากการย่อยและที่ย่อยไม่ได้จะผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ซึ่งมีการดูดแร่ธาตุ น้ำและวิตามินบางชนิดกลับสู่ร่างกาย ส่วนกากอาหารถูกกำจัดออกทางทวารหนัก สำหรับในสัตว์โครงสร้างของระบบย่อยอาหารมีความซับซ้อนแตกต่างกันไป
ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ประกอบด้วย หัวใจ หลอดเลือดและเลือด หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือด มี 4 ห้อง หลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจเรียกว่าอาร์เทอรีและหลอดเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจเรียกว่าเวน อาร์เทอรีและเวนเชื่อมต่อกันโดยหลอดเลือดฝอยซึ่งแทรกอยู่ตามเซลล์ทั่วร่างกาย หลอดเลือดฝอยเป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สและสารต่างๆระหว่างเลือดกับเซลล์เลือดที่มีสารอาหารและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่หัวใจ ซึ่งบีบตัวเพื่อนำเลือดไปยังปอดเกิดการแลกเปลี่ยนแก๊ส จากนั้นเลือดจะออกจากปอดเข้าสู่หัวใจอีกครั้งหนึ่งก่อนสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่หัวใจบีบและคลายตัวทำให้เกิดเป็นความดัน 2 ค่า ซึ่งสามารถวัดได้
เลือดประกอบด้วย น้ำเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจน เซลล์เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม และสร้างแอนติบอดีให้กับร่างกาย เกล็ดเลือดช่วยในการแข็งตัวของเลือด แอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นมีสมบัติในการคุ้มกันโรคแต่ละชนิดได้ในระยะเวลาแตกต่างกัน จึงต้องมีการให้วัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีขึ้นมาเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันสำหรับโรคบางชนิด ในกรณีที่บางโรคแสดงอาการอย่างรวดเร็ว ร่างกายอาจสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านไม่ทัน จึงต้องให้แอนติบอดีแก่ร่างกายทันทีโดยการฉีดเซรุ่ม
ระบบหายใจมีหน้าที่นำแก๊สออกซิเจนจากการหายใจเข้าสู่ร่างกายเพื่อทำปฏิกิริยากับสารอาหารก่อให้เกิดพลังงาน และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยการหายใจออก กระบวนการหายใจเข้าและออกเกิดจากการทำงานที่ประสานกันของกล้ามเนื้อกะบังลม  กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงและกระดูกซี่โครง โดยเริ่มจากอากาศผ่านไปตามโพรงจมูก หลอดลมและเข้าสู่ปอด ภายในปอดประกอบด้วยถุงลมจำนวนมาก ถุงลมแต่ละอันมีหลอดเลือดฝอยห่อหุ้มอยู่และเป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจน
ระบบขับถ่ายของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังมีไตเป็นอวัยวะสำคัญในกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ไตประกอบด้วยหน่วยไตเล็กๆจำนวนมากทำหน้าที่กรองของเสียออกจากน้ำเลือดและดูดสารที่มีประโยชน์และน้ำบางส่วนกลับคืนสู่หลอดเลือด ส่วนของเหลวที่เหลือซึ่งประกอบด้วย ยูเรีย น้ำและสารบางชนิด รวมเรียกว่า น้ำปัสสาวะจะถูกกำจัดออกนอกร่างกาย สัตว์จำพวกแมลงใช้โครงสร้างที่เรียกว่าท่อมัลพิเกียนในการกำจัดของเสีย
ระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมและประสานงานกับระบบอื่นๆ ในร่างกาย รวมถึงควบคุมพฤติกรรมที่แสดงออกในสิ่งมีชีวิต ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องเรียนรู้และพฤติกรรมที่ต้องเรียนรู้หรือมีประสบการณ์ สารเสพติดบางชนิดอาจทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกเปลี่ยนไปจากปกติ
สำหรับสัตว์บางชนิดมีระบบต่างๆที่กล่าวมาคล้ายมนุษย์และสัตว์บางชนิดก็แตกต่างจากมนุษย์ เช่น ปลามีหัวใจ 2 ห้อง และการแลกเปลี่ยนแก๊สต่างๆ เกิดขึ้นที่บริเวณเหงือก ส่วนแมลงมีหัวใจที่มีลักษณะเป็นท่อยาว การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดที่ท่อลม และใช้โครงสร้างที่เรียกว่า ท่อมัลพิเกียนในการกำจัดของเสีย เป็นต้น

 ตัวชี้วัด

                1. อธิบายโครงสร้างและการทำงานของระบบ ย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ ของมนุษย์และสัตว์ รวมทั้งระบบประสาทของมนุษย์ (ว 1.1-1)
2. อธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆ ของ มนุษย์และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์(ว 1.1-2)

จุดประสงค์การเรียนรู้

                1. อธิบายการจัดระบบในร่างกายของมนุษย์ได้
                2. บอกชื่อ และหน้าที่ ของอวัยวะในร่างกายมนุษย์ได้
                3. บอกความหมายและหน้าที่ของเนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบอวัยวะของร่างกายมนุษย์ได้

เนื้อหา (รายละเอียดของเนื้อหาอยู่ในใบความรู้ที่ 1)

                - การจัดระบบในร่างกายมนุษย์
                - การจัดระบบในร่างกายมนุษย์ระดับเซลล์ ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ และระดับระบบร่างกาย

การจัดกระบวนการเรียนรู้
1. ขั้นนำ
                1.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                2.นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ว่า ประกอบด้วยอวัยวะอะไรบ้าง นักเรียนทราบหรือไม่ว่าอวัยวะเหล่านั้นมีองค์ประกอบเป็นอะไร  เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า รูปร่างของมนุษย์ที่มองเห็นนี้ประกอบขึ้นด้วยเซลล์จำนวนมาก แต่ละเซลล์มีรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกัน  เซลล์ที่มีรูปร่างเหมือนกัน จะเข้ามาอยู่ร่วมกันทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เรียกว่า เนื้อเยื่อ หลายๆ เนื้อเยื่อรวมกันและทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เรียกว่า อวัยวะ  เมื่อหลายๆอวัยวะเข้ามาทำงานประสานกัน ก็จะเรียกว่า ระบอวัยวะ  จากนั้นให้นักเรียนศึกษาการจัดระบบในร่างกายมนุษย์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ JIGSAW โดยให้นักเรียนศึกษากิจกรรมตามใบกิจกรรมต่อไปนี้

2. ขั้นสอน
1.นักเรียนแบ่งกลุ่ม จำนวน กลุ่ม กลุ่มละ 5-8 คน แล้วดำเนินการเรียนแบบมีส่วนร่วม (Co-operative Learning) โดยใช้เทคนิค Jig Saw ดังนี้
                                1.1.จัดนักเรียนออกเป็น กลุ่มๆ ละ 5-8 คน ให้ชื่อกลุ่มว่า กลุ่มบ้าน ให้แต่ละกลุ่มเลือกประธาน และเลขา ให้ประธานจับสลาก ซึ่งกลุ่มและรับป้ายชื่อสมาชิก ซึ่งครูได้จัดไว้ล่วงหน้าดังนี้

กลุ่มที่
ชื่อกลุ่มบ้าน
บัตรสมาชิก
1
กอ
1   2   3   4   5
2
ขอ
1  2   3   4   5
3
คอ
1  2   3   4   5
4
งอ
1  2  3  4  5
                                1.2ให้สมาชิกกลุ่มบ้านแยกเข้ากลุ่ม ตามหมายเลขสมาชิกแต่ละคน เช่น สมาชิก หมายเลข ก็จะรวมกันเป็นกลุ่ม  1  1  1 และ 1   กลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่ม "ผู้เชี่ยวชาญซึ่งแยกไว้ดังนี้

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่
เรื่องที่จะศึกษา
ใบความรู้ที่
สมาชิกกลุ่ม
1
ระดับเซลล์
1(1)
1  1   1   1   5
2
ระดับเนื้อเยื่อ
1(2)
2  2   2    5
3
ระดับอวัยวะ
1(3)
3  3   3   3  5
4
ระดับระบบร่างกาย
1(4)
4  4   4   4  5

                                1.3 ให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละกลุ่ม เลือกประธาน และเลขาเสร็จแล้วให้ประธานไปรับใบความรู้ที่จะศึกษาตามตารางในข้อ 1.2
                                1.4 เมื่อศึกษาเรื่องจากข้อ 1.2 ตามเวลาที่ครูกำหนดให้แล้วให้สมาชิกแยกย้ายเข้ากลุ่ม "บ้านเหมือนเดิม ให้ประธานกลุ่ม "บ้านไปรับใบความรู้ที่ 1(1)-1(4) มาแจกให้สมาชิกกลุ่มให้ครบทุกคน เพื่อประกอบการศึกษาในข้อ 1.5
                                1.5 ให้สมาชิกแต่ละคนอธิบายความรู้ที่ได้ศึกษาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้เพื่อนฟัง โดยเริ่มจากสมาชิกหมายเลข 1- หมายเลข 5
                                1.6 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปราย ซักถาม ตามใบความรู้ที่ 1(1)-1(4) แล้วนำเอกสารไปคัดลอกลงในสมุดจดงาน บันทึกเป็นความรู้ต่อไป
                                1.7 สมาชิกกลุ่มบ้านแต่ละคนทำแบบฝึกหัดตามใบงานที่ เมื่อทำเสร็จแล้วแต่ละคนให้คะแนนตนเอง ตามเฉลยที่ครูติดไว้ที่ผนังของห้องเรียน
                                1.8 สมาชิกแต่ละคนของกลุ่มบ้านนำคะแนนที่ได้จากข้อ 1.7 มารวมกัน หาคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม กลุ่มใดได้คะแนนสูงก็ให้การเสริมแรงต่อไป
                2. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถามเนื้อหา เรื่อง การจัดระบบในร่างกายมนุษย์ ว่ามีส่วนไหนที่ไม่เข้าใจและให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนนั้น 
   
3. ขั้นสรุป            
                1.นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
                2.นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยแบบทดสอบหลังเรียน ครูเสริมแรงโดยชมเชยนักเรียนที่สอบผ่าน สำหรับนักเรียนที่สอบไม่ผ่านครูให้กำลังใจและให้นักเรียนที่สอบผ่านสอนเสริมให้นอกเวลาเรียน
                3. ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาความรู้  เรื่อง ระบบการย่อยอาหาร ซึ่งจะเรียนในคาบต่อไปมาล่วงหน้า

สื่อการเรียนการสอน/สื่อการเรียนรู้

                1. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน จำนวน ข้อ
                2. ใบความรู้ที่ เรื่อง การจัดระบบในร่างกายมนุษย์
                3. ใบงานที่  1 เรื่อง การจัดระบบในร่างกายมนุษย์

การวัดผลประเมินผล


การวัดผลประเมินผลด้าน
วิธีการวัด

เครื่องมือวัด

เกณฑ์การผ่าน
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
1.วัดจากแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

1. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

1. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือเท่ากับ 60% ข้อขึ้น

2.วัดจากการตอบคำถามตามใบงานที่ 1
2.ใบงานที่ 1
2. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือ เท่ากับ 60%ขึ้นไป
2. ด้านทักษะกระบวนการ
ประเมินจากทักษะการปฏิบัติการ
แบบประเมินด้านทักษะ(การทดลอง)
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป
3. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
การสังเกตพฤติกรรมความสนใจ และตั้งใจเรียน
แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจและตั้งใจเรียน
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป

กิจกรรมเสนอแนะ
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................


แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
เรื่อง การจัดระบบในร่างกายมนุษย์

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ในร่างกายของมนุษย์ไม่มีเซลล์ชนิดใดต่อไปนี้
                .เซลล์ผิวหนัง                    .เซลล์ประสาท                  .เซลล์สืบพันธ์                   ง.เซลล์คุม
2.เซลล์ชนิดใดมีหน้าที่ทำให้อวัยวะต่างๆ เคลื่อนไหวได้
                .เซลล์กล้ามเนื้อ                                                                   .เซลล์ประสาท
                .เซลล์เม็ดเลือดแดง                                                          .เซลล์กระดูก
3.สิ่งใดต่อไปนี้หมายถึงเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
                .กระดูก                               .กระดูกอ่อน                      .หลอดเลือด                       .ถูกทุกข้อ
4.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เนื้อเยื่อ
                .เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน                                                               .เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ
                .เนื้อเยื่อประสาท                                                              .เนื้อเยื่ออวัยวะภายใน
5.ข้อใดต่อไปนี้มีความสัมพันธ์กัน
                .สมอง – ระบบสืบพันธุ์                                                  .หัวใจ ระบบหายใจ
                ค.กระเพาะอาหาร – ระบบย่อยอาหาร                           . ปอด - ระบบขับถ่าย

   6. อวัยวะใดต่อไปนี้ไม่อยู่ในระบบย่อยอาหาร
                .กระเพาะอาหาร               .ลำไส้เล็ก                                           .ปอด                    .ปาก
7.ระบบโครงกระดูกของมนุษย์มีหน้าที่อะไรบ้าง
                .ทำให้มนุษย์เคลื่อนที่ได้                                                 .สร้างเม็ดเลือด
                .ช่วยให้ระบบหายใจเป็นปกติ                                        .ข้อ ก และ ข
8.ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของสมอง
                .ควบคุมการเคลื่อนไหว                                                   .เป็นศูนย์กลางของความคิด
                .เป็นศูนย์กลางการควบคุมอารมณ์                                .ถูกทุกข้อ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เฉลยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

เรื่อง การจัดระบบในร่างกายมนุษย์

                                1.  ง                       2.  ก                       3. ง                         4.  ง                       5.  ค      
                                6.  ค                       7.  ง                       8.  ง                                      
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง การจัดระบบในร่างกายของมนุษย์

 การจัดระบบในร่างกายของมนุษย์

                การจัดระบบในร่างกายของมนุษย์แบ่งออกได้ ระดับด้วยกันคือ ระดับเซลล์ ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ และระดับระบบร่างกาย

 1. การจัดระบบในร่างกายของมนุษย์ระดับเซลล์

ร่างกายของคนเราประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างและขนาดต่างๆ กันไป ตามหน้าที่การทำงาน เช่น
เซลล์สืบพันธุ์ (sex cell)มีหน้าที่นำข้อมูลทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ถ่ายทอดให้แก่ลูก โดยพ่อสร้างเซลล์อสุจิ ส่วนแม่สร้างเซลล์ไข่
เซลล์กล้ามเนื้อ (muscle cell) สามารถหดตัวและคลายตัว เพื่อทำให้อวัยวะต่างๆ เคลื่อนไหวได้
เซลล์ประสาทสั่งการ (motor nerve cell) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวโดยรับคำสั่งจากสมองส่งผ่านเซลล์ประสาท สั่งงานไปยังเซลล์กล้ามเนื้อส่วนที่ถูกกระตุ้นให้เคลื่อนไหว
เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell) มีรูปร่างกลมแบน มีหน้าที่เกี่ยวกับการลำเลียงแก๊สออกซิเจน และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
เซลล์ผิวหนัง (skin cell) มีลักษณะเรียงตัวเป็นชั้นๆ ทำหน้าที่ห่อหุ้มร่างกาย

ตัวอย่างเซลล์ประเภทต่างๆ


เซลล์กล้ามเนื้อ



เซลล์ประสาท



 เซลล์ผิวหนัง
 

เซลล์สืบพันธุ์

2. การจัดระบบในร่างกายของมนุษย์ระดับเนื้อเยื่อ
                เนื้อเยื่อ คือ กลุ่มของเซลล์ทีมีรูปร่างเหมือนกันมาอยู่รวมกันเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เนื้อเยื่อแบ่งออกเป็น ชนิด ดังนี้
                1.เนื้อเยื่อผิว  (Epithelial tissue)
                เนื้อเยื่อผิว คือ เนื้อเยื่อที่ห่อหุ้ม และเนื้อเยื่อที่บุอวัยวะต่างๆ เช่น เนื้อเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร เนื้อเยื่อบุภายในปอด
                2.เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue)
                เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน คือ เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกาย ได้แก่ กระดูก (bone) กระดูกอ่อน (cartilage) หลอดเลือด เป็นต้น
                3.เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (Muscular tissue)
                เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยเซลล์ที่หดตัวและคลายตัวได้ จำแนกออกเป็น ชนิด ดังนี้
                1)กล้ามเนื้อลาย (skeleton muscle)
                                2)กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle)
                3)กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)
                4.เนื้อเยื่อประสาท (Nervous tissue)
                เนื้อเยื่อประสาท ประกอบด้วยเซลล์ประสาทที่มีรูปร่างเฉพาะ ทำหน้าที่ส่งสัญญาณที่ถูกกระตุ้นไปสู่สมอง และรับคำสั่งจากสมองส่งไปสู่อวัยวะที่ถูกกระตุ้นเพื่อตอบสนองโดยการแสดงออกต่างๆ



เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน


เนื้อเยื่อผิว


เนื้อเยื่อประสาท




3. การจัดระบบในร่างกายของมนุษย์ระดับอวัยวะ
อวัยวะ เกิดจากเนื้อเยื่อหลายชนิดร่วมกันทำหน้าที่อย่างเดียวกัน ร่างกายของมนุษย์จะประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ หลายอวัยวะ ซึ่งจะทำหน้าที่ประสานกัน โดยจะมีระบบของการทำงานแตกต่างกันออกไป ถ้าเราสุขภาพดี ระบบอวัยวะทั้งหมดของร่างกายจะทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างอวัยวะภายในร่างกาย
1.สมอง  เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เป็นศูนย์กลางของความคิด ความจำ และอารมณ์ต่างๆ
2.ปอด เป็นส่วนหนึ่งของระบบหายใจ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ให้แก่ร่างกาย
3.ไต เป็นส่วนหนึ่งของระบบขัยถ่าย ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด
4.กระดูก เป็นส่วนหนึ่งของระบบโครงกระดูก ทำหน้าที่ช่วยพยุงและป้องกันอันตราย ช่วยในการเคลื่อนไหว
5.หัวใจ เป็นส่วนหนึ่งของระบบหมุนเวียนของร่างกาย ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย
6.กระเพาะอาหาร  เป็นส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหาร ทำหน้าที่เป็นที่พักคลุกเคล้า และย่อยอาหาร
7.อวัยวะเพศ เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์
ตัวอย่างอวัยวะในร่างกาย
หัวใจ

สมอง



  ปอด

4. การจัดระบบในร่างกายของมนุษย์ระดับระบบร่างกาย
อวัยวะหลายๆ ชนิดทำงานประสานกันเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเรียกว่า ระบบร่างกาย ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยระบบร่างกายหลายระบบ ซึ่งแต่ละระบบจะทำงานประสามสัมพันธ์กัน เพื่อให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติ ถ้าระบบร่างกายใดทำงานผิดปกติหรือบกพร่อง จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบอื่นๆ ในร่างกายด้วย
1.ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหารทำหน้าที่ช่วยย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไปให้มีขนาดเล็กลง ให้ร่างกายดึงสารอาหารไปใช้ได้ง่านขึ้น ซึ่งถือว่าระบบย่อยอาหารเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่สำคัญของร่างกายระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลายชนิด อวัยวะแต่ละชนิดจะทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่ก็จะทำงานประสานกัน เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำหน้าที่เป็นไปตามที่ร่างกายต้องการ
2.ระบบประสาท
ระบบประสาทประกอบด้วยสมอง ไขสันหลังและเส้นประสาท ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อรับส่งความรู้สึกรวมถึงควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยเส้นประสาทจะรับความรู้สึกจากสิ่งกระตุ้นภายใน-นอกร่างกายและส่งความรู้สึกไปยังสมองหรือไขสันหลัง จากนั้นสมองหรือไขสันหลังจะสั่งงานเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น ด้วยการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ กันตลอดจนการเคลื่อนไหวของร่างกาย
3.ระบบโครงกระดูก
โครงกระดูกเป็นอวัยวะที่แข็งแรงและมีความสำคัญเท่าๆ กับอวัยวะส่วนอื่นๆ ร่างกายมนุษย์จะประกอบด้วยกระดูกมากกว่า 200 ชิ้น ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งได้เป็น กลุ่มใหญ่ๆ คือ กระดูกแกน และ กระดูกรยางค์
โครงกระดูกของมนุษย์มีหน้าที่สำคัญ ประการคือ
1.ช่วยค้ำจุน เป็นโครงสร้างยึดเกาะของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ช่วยให้ร่างกายตั้งตรงได้
2.ช่วยป้องกัน กระดูกซี่โครงทำหน้าที่ป้องกันหัวใจ ปอดและอวัยวะภายในอื่นๆ ส่วนกะโหลกศรีษะช่วยป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับสมอง
3.การเคลื่อนที่ ระบบโครงกระดูกเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ประสานกับกล้ามเนื้อให้สามารถเคลื่อนที่ไปพร้อมเพรียงกันทั้งระบบ
4.สร้างเม็ดเลือด  ไขกระดูกที่อยู่ภายในกระดูกท่อนยาว เช่น กระดูกแขน กระดูกขา จะทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์เม็ดเลือดแดง



ระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์
  



ระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ใบงานที่ 1
เรื่อง การจัดระบบในร่างกายมนุษย์

คำชี้แจง

                1.จากรูปให้นักเรียนบอกว่าเป็นระบบใด มีหน้าที่สำคัญอย่างไร




                2.นำใบงานที่สมบูรณ์ติดลงสมุด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจคำตอบ
                          (1)                             (2)                          (3)                          (4)                          (5)

หมายเลข 1) คือ ระบบ ………………………………………
หน้าที่สำคัญ คือ ……………………………………………………………………………………
หมายเลข 2) คือ ระบบ ………………………………………
หน้าที่สำคัญ คือ ……………………………………………………………………………………
หมายเลข 3) คือ ระบบ ………………………………………
หน้าที่สำคัญ คือ ……………………………………………………………………………………
หมายเลข 4) คือ ระบบ ………………………………………
หน้าที่สำคัญ คือ ……………………………………………………………………………………
หมายเลข 5) คือ ระบบ ………………………………………
หน้าที่สำคัญ คือ ……………………………………………………………………………………













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น